การซื้อขายด้วยเลเวอเรจ

เลเวอเรจคืออะไร

เลเวอเรจเป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของการเทรด CFD และฟอเร็กซ์ และถือเป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงได้มากขึ้นโดยการเปิดสถานะที่มีขนาดใหญ่กว่าจำนวนเงินที่จำเป็นต้องใช้ในการเปิดเทรดอย่างมากได้ ในการเปิดออเดอร์ เทรดเดอร์จะต้องมีมาร์จิ้นในบัญชีเทรดของตน

สิ่งนี้เรียกว่าการเทรดมาร์จิ้นและเป็นแนวคิดที่ใช้เมื่อดำเนินการเทรดในตลาดการเงินโดยใช้แพลตฟอร์มการเทรดขั้นสูง อาทิ MetaTrader 4, MetaTrader 5 และ Iress สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจว่าเลเวอเรจทำงานอย่างไรก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเทรด วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้รับผลตอบแทนสูงสุดและจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นโดยใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยง

เงื่อนไขสำคัญในการใช้เลเวอเรจ?

เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการใช้เลเวอเรจ
มีคำศัพท์สำคัญมากมายที่คุณจำเป็นต้องทราบ ดังนี้

มาร์จิ้นเริ่มต้น: จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเปิดสถานะการเทรด

มาร์จิ้น: จำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องใช้ในการเปิดและรักษาสถานะการเทรด ซึ่งรวมถึงมาร์จิ้นเริ่มต้น ค่าบริการต่างๆ ที่โบรกเกอร์เรียกเก็บ อาทิ อัตราสวอปที่จำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาสถานะข้ามคืน และการเรียกมาร์จิ้นเพิ่มที่อาจเกิดขึ้น

อัตราส่วนเลเวอเรจ: กล่าวโดยง่ายคือ จำนวนที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงได้ต่อเงินทุนที่ลงทุนไป อัตราส่วนเลเวอเรจสามารถมีได้ตั้งแต่ 2:1 (สองเท่าของเงินฝากขั้นต้น) และจำนวนเลเวอเรจสูงถึง 30:1 (30 เท่าของเงินฝากขั้นต้น)

การใช้เลเวอเรจข้างต้นนั้น หมายถึงการใช้เงินทุนที่ยืมมาเพื่อขยายขนาดสถานะการเทรด เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องมีมูลค่าการเทรดรวมในยอดคงเหลือในบัญชีของตน ทั้งนี้พวกเขาจะต้องฝากเงินมาร์จิ้นเริ่มต้นเพื่อเปิดสถานะ แต่สามารถใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงได้ตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเลเวอเรจที่ได้รับการนำเสนอ

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเทรดด้วยอัตราส่วนเลเวอเรจ 10:1 นั่นหมายความว่าคุณสามารถที่จะเปิดสถานะที่มีขนาดใหญ่กว่าเงินฝากขั้นต้นได้ถึงสิบเท่า ด้วยเงินเพียง $1,000 ในบัญชีการเทรดของคุณ คุณจะสามารถเปิดสถานะด้วยมูลค่ารวม $10,000

เลเวอเรจทำงานอย่างไร

การใช้เลเวอเรจนั้นเป็นเรื่องปกติในตลาดฟอเร็กซ์และสามารถเห็นสิทธิประโยชน์ของเลเวอเรจได้จากการเปรียบเทียบง่ายๆ กับการเทรดหุ้น สำหรับการเทรดในตลาดหุ้นทั่วไป คุณจะต้องจ่ายเงินสำหรับมูลค่ารวมของหุ้นที่คุณต้องการซื้อ สมมติว่าคุณต้องการซื้อ Woolworths 1,000 หุ้นในราคา $50 ต่อหุ้น คุณจำเป็นต้องใช้เงิน $50,000 เพื่อดำเนินการเทรด

ในการเปรียบเทียบ หากคุณจะซื้อ CFD หุ้น ซึ่งนำเสนออัตราส่วนเลเวอเรจ 20:1 คุณต้องใช้เงินเพียง 5% ของมูลค่ารวมของสถานะเท่านั้น ในสถานการณ์ข้างต้นคุณจะได้รับหุ้นของ Woolworths มูลค่า $50,000 ด้วยเงินเพียง $2,500 ในทำนองเดียวกันการลงทุน $50,000 จะสามารถช่วยให้คุณได้รับประโยชน์จากความเสี่ยง $1,000,000 (20 เท่าของเงินลงทุนขั้นต้นของคุณ)

ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจประเภทต่างๆ

FP Markets นำเสนอการเทรดที่ใช้เลเวอเรจใน ตราสารทางการเงินมากกว่า 10,000 รายการทั่วตลาดโลกที่ใหญ่ที่สุด สิ่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความผันผวนของตลาดได้โดยใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาแม้เพียงเล็กน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดนั้นได้แก่ ฟอเร็กซ์และสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs)

Forex

เลเวอเรจเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่เอื้อให้มีการเทรดฟอเร็กซ์กันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ด้วยมูลค่าการเทรดเป็นล้านล้านต่อวัน ตลาดฟอเร็กซ์จึงเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเทรดฟอเร็กซ์เกี่ยวข้องกับการซื้อสกุลเงินหนึ่งและขายอีกสกุลหนึ่งพร้อมกัน

สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs)

CFD คือสัญญาที่คุณแลกเปลี่ยนส่วนต่างราคาของสินทรัพย์อ้างอิงโดยไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริงๆ สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของการเทรด CFD คือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ

ผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินมีผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงฟิวเจอร์ส, ออปชัน และกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ETF)

คุณสามารถใช้เลเวอเรจในตลาดใดได้บ้าง

ที่ FP Markets ผลิตภัณฑ์แบบมีเลเวอเรจที่หลากหลายของเรานั้นรวมถึงฟอเร็กซ์และ CFD หุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, โลหะมีค่า, ดัชนี และคริปโตเคอเรนซีต่างๆ นี่คือรายละเอียดของตลาดต่างๆ ที่คุณสามารถใช้เลเวอเรจได้

Forex

คู่สกุลเงินในฟอเร็กซ์แบ่งออกเป็นสามประเภท ดังนี้

คู่หลัก

คู่สกุลเงินที่มีดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินฐานหรือสกุลเงินอ้างอิง ซึ่งถือเป็นคู่เงินที่มีการเทรดกันมากที่สุด และมีสเปรดต่ำที่สุด ตัวอย่างเช่น EUR/USD และ AUD/USD

คู่รอง

คู่สกุลเงินที่ประกอบด้วยสกุลเงินสำคัญๆ แต่ไม่รวมถึงสกุลดอลลาร์สหรัฐ ตัวอย่างเช่น GBP/CAD และ EUR/AUD

คู่ Exotics

สามารถเป็นสกุลเงินหลักเทียบกับสกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ ความผันผวนที่สูงขึ้นและสภาพคล่องที่น้อยลงโดยทั่วไปนั้นหมายถึงสเปรดที่สูงขึ้นสำหรับคู่กลุ่มประเทศตลาดใหม่ ตัวอย่างเช่น AUD/MXN และ JPY/NOK

CFD

FP Markets นำเสนอการเทรด CFD แบบมีเลเวอเรจในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่

หุ้น

CFD หุ้นออสเตรเลียและต่างประเทศมากกว่า 10,000 รายการในสี่ทวีป เทรดหุ้นของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกไม่ว่าจะเป็น Apple, Facebook, Alphabet, Tesla และ Walmart

สินค้าโภคภัณฑ์

เพลิดเพลินกับการเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญๆ แบบมีเลเวอเรจ เช่น น้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI),น้ำมันดิบ Brent และก๊าซธรรมชาติ ด้วยความสัมพันธ์เชิงลบกับกลุ่มสินทรัพย์แบบดั้งเดิม สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ จึงมักถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การเทรดแบบบริหารความเสี่ยง

โลหะมีค่า

เทรดราคาสปอตของโลหะมีค่าต่างๆ อันได้แก่ ทองคำ โลหะเงิน แพลทินัมและแพลเลเดียม

ดัชนี

ด้วย FP Markets คุณสามารถเทรด CFD ฟิวเจอร์สดัชนีจากทั่วโลกที่มาร์จิ้นนั้นเริ่มต้นเพียงแค่ 1% และเทรดในตลาดที่ใหญ่ที่สุดได้ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น NYSE, NASDAQ, LSE หรือ ASX

คริปโตเคอเรนซี่

ซื้อและขายคริปโตเคอเรนซีได้โดยไม่จำเป็นต้องมีวอลเล็ตดิจิทัล เทรดสกุลคริปโตเคอเรนซียอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Bitcoin, Ethereum, XRP (Ripple), Bitcoin Cash หรือ Litecoin ได้โดยการเทรด CFD คริปโตเคอเรนซี

ข้อดีและข้อเสียของการใช้เลเวอเรจ

การเทรดแบบใช้เลเวอเรจนั้นมีข้อดีอยู่หลายประการ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง สิ่งนี้จะช่วยให้คุณเพิ่มผลกำไรสูงสุดไปพร้อมๆ กับจำกัดระดับความเสี่ยงของคุณได้

ข้อดี

ศักยภาพในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น: ด้วยการเข้าถึงเงินทุนเพิ่มเติมได้มากกว่าที่มีอยู่ในบัญชีของคุณ คุณจึงสามารถที่จะเพิ่มผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการเทรดด้วยเลเวอเรจ คุณสามารถที่จะขยายผลกำไรจากการเทรดได้ด้วยจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเปิดสถานะที่จำกัดไว้สำหรับมาร์จิ้น

ไม่มีดอกเบี้ย: แม้จะสามารถเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น ก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย โดยปกติแล้วในการซื้อสินทรัพย์อื่นใดมักจะมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย เมื่อดำเนินการเทรดด้วยเลเวอเรจ FP Markets จะให้จำนวนเงินเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องใช้ในการเปิดเทรดโดยไม่คิดดอกเบี้ยใดๆ

อุปสรรคในการเข้าเทรดต่ำ: ด้วย FP Markets คุณสามารถเปิดบัญชีการเทรดด้วยเงินเพียง $100 ขึ้นอยู่กับตราสารที่เทรด คุณอาจสามารถเปิดสถานะที่มีมูลค่ารวมเป็นพันๆ ได้โดยการใช้เลเวอเรจ

การป้องกันความเสี่ยง: สามารถใช้ประโยชน์จากเลเวอเรจได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อใช้กลยุทธ์ Hedging เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง สิ่งนี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถป้องกันความเสี่ยงได้โดยไม่ต้องลงเงินทุนเป็นจำนวนมาก

โอกาสในการเทรด: ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจต่างๆ มากมาย อาทิ ฟอเร็กซ์ สามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เมื่อผสานรวมกับความสามารถในการเทรดทั้งสองทิศทาง (เปิดสถานะ long และ short) สิ่งนี้จะสร้างโอกาสในการเทรดได้มากขึ้น

ข้อเสีย

ด้วยความสามารถในการเปิดสถานะที่ใหญ่ขึ้นอย่างมากได้ เทรดเดอร์จึงควรตระหนักถึงข้อเสียของการเทรดโดยใช้เลเวอเรจที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงและไม่จำกัดเฉพาะ:

การขาดทุนที่เพิ่มขึ้น: แม้ว่าการใช้เลเวอเรจสามารถเพิ่มศักยภาพในการทำกำไรของคุณได้ แต่ก็อาจขยายผลการขาดทุนของคุณได้เช่นกัน นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้อง พัฒนาแผนการเทรด โดยพิจารณาถึงความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้และจัดหากลยุทธ์ต่างๆ มาจัดการความผันผวนของตลาด เทรดเดอร์ที่ไม่มีประสบการณ์สามารถฝึกฝนได้โดยใช้ บัญชีทดลอง ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้และทดสอบกลยุทธ์ต่างๆ ได้โดยใช้สกุลเงินเสมือนจริง

การเรียกเก็บมาร์จิ้นเพิ่ม: มีความเป็นไปได้เสมอที่คุณอาจสูญเสียเงินมากกว่าจำนวนเงินในบัญชีการเทรดของคุณ หากคุณขาดทุนเกินกว่ายอดคงเหลือในบัญชีของคุณ คุณอาจถูกเรียกเก็บมาร์จิ้นเพิ่ม การใช้กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง อาทิ การใช้คำสั่ง stop-loss สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้

ค่าใช้จ่ายในการเทรด: ทั้งนี้อาจมีค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาสถานะข้ามคืน โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของสถานะของคุณ (long หรือ short) ดังนั้นจึงควรคำนึงถึงอัตราสวอปและค่าบริการอื่นๆ ก่อนที่จะดำเนินการเทรดใดๆ

นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการใช้เทคนิคและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงขณะที่ดำเนินการเทรดด้วย

Which Markets Can You
Use Leverage on?

อัตราส่วนเลเวอเรจเกี่ยวข้องกับจำนวนที่คุณสามารถใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงต่อเงินลงทุนขั้นต้นของคุณ จำนวนเลเวอเรจที่นำเสนอจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงตราสารทางการเงินที่จะเทรด, ขนาดของสถานะ และประเภทบัญชี

โดยทั่วไปอัตราส่วนเลเวอเรจที่นำเสนอในบัญชีนักลงทุนรายย่อยมีตั้งแต่ 2:1, 5:1 และสูงสุดถึง 30:1 ผู้ที่ต้องการเทรดด้วยเลเวอเรจที่สูงขึ้นควรสำรวจ บัญชี Pro ของ FP Marketsของเรา ลูกค้าที่มีสิทธิ์มีสิทธิ์ได้รับเลเวอเรจสูงสุดถึง 30:1 สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงคู่สกุลเงินหลัก, ทองคำ และน้ำมัน

อัตราส่วนเลเวอเรจ
แสดงถึงอะไร

อัตราส่วนเลเวอเรจแสดงถึงสัดส่วนของหนี้สินที่เกี่ยวกับจำนวนของส่วนของผู้ถือหุ้น/ทุน โดยทั่วไปเงินทุนจะแสดงด้วยเลข 1 ต่ออีกค่าซึ่งเป็นสัดส่วนของหนี้ที่เทรดเดอร์สามารถเข้าถึงได้ อัตราส่วนเลเวอเรจ 20:1 หมายความว่าเทรดเดอร์สามารถใช้ประโยชน์จากความเสี่ยงเทียบเท่ากับเงินทุนยี่สิบเท่า ในทำนองเดียวกันสิ่งนี้สามารถอธิบายได้ในทางตรงกันข้าม นั่นก็คือ ข้อกำหนดมาร์จิ้นคือ 1/20 หรือ 5% ของมูลค่าการเทรดรวม

ประเภทของอัตราส่วน
เลเวอเรจ

ในอุตสาหกรรมบริการทางการเงินประเภทของอัตราส่วนเลเวอเรจที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ :

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = หนี้สินปัจจุบัน / สินทรัพย์รวม

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม / ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

อัตราส่วนหนี้สินต่อเงินทุน = หนี้สินปัจจุบัน / (หนี้สินรวม + ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม)

อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA หนี้สินปัจจุบัน / รายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย

อัตราส่วนสินทรัพย์ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = สินทรัพย์รวม / ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเทรดโดยใช้เลเวอเรจ

เลเวอเรจมักถูกใช้เป็นประจำในการเทรดฟอเร็กซ์และ CFD ระดับเลเวอเรจนั้นจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงตราสารทางการเงินที่จะเทรด, ประเภทบัญชี, ประสบการณ์ของเทรดเดอร์, ขนาดของสถานะ และระเบียบข้อบังคับ โดยทั่วไปแล้วระดับเลเวอเรจที่สูงขึ้นจะมีให้บริการสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีสภาพคล่องสูง อาทิ คู่สกุลเงินและดัชนีที่สำคัญๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเทรด CFD หุ้น โปรดดู ข้อกำหนดมาร์จิ้น ของ FP Markets

เริ่มต้นเทรด
ได้ในไม่กี่นาที

bullet เข้าถึงตราสารทางการเงินกว่า 10,000 รายการ
bullet เปิดและปิดสถานะอัตโนมัติ
bullet ข่าวสารและปฏิทินเศรษฐกิจ
bullet เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและกราฟ
bullet มีเครื่องมือเพิ่มเติมอีกมากมาย

การให้อีเมลของคุณ แสดงถึงว่าคุณยอ มรับในนโยบายความเป็ นส่วนตัวของ FP Markets และจะรับสื่อการตลาดในอนาคตจาก FP Markets คุณสามารถยกเลิกการสมัครรับได้ทุกเมื่อ




Source - database | Page ID - 2576

Get instant Updates in Telegram