การเทรด CFD คืออะไร

MENU

อะไรคือ CFD
เครื่องมื and How
Does it Work?

CFD หรือ “สัญญาซื้อขายส่วนต่าง” เป็นผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่ให้คุณซื้อขายตามการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์และดัชนีในตลาดในประเทศและต่างประเทศ แม้จะมีความซับซ้อน แต่สิ่งที่ถูกนำเสนอให้นักเทรดนั้นค่อนข้างง่าย CFD ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ตลาดด้วยมูลค่าเพียงเศษเสี้ยวของสินทรัพย์ที่คุณกำลังซื้อ เพิ่มศักยภาพในการทำกำไรและขาดทุน หรือที่เรียกว่าเลเวอเรจ เนื่องจาก CFD มุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของราคา จึงเป็นไปได้ที่จะทำการชอร์ตผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายความว่าผู้ค้าคาดว่าราคาของสินทรัพย์จะลดลงและได้กำไรจากการเคลื่อนไหวนี้ สุดท้ายนี้มันช่วยให้ผู้ค้าสามารถเปิดโพซิชั่นได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ สิ่งนี้ทำให้ CFDs เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ค้าที่ต้องการรับความเสี่ยงจากตลาดที่ใหญ่ขึ้นด้วยมูลค่าเพียงเศษเสี้ยวของมูลค่าเต็มของสินทรัพย์ ในขณะที่สามารถเข้าและออกจากการซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว

ด้วย CFD คุณไม่ต้องเป็นเจ้าของในสินทรัพย์จริง คุณแลกเปลี่ยนในส่วนต่างราคาของสินทรัพย์ที่อ้างอิง นับจากเวลาที่สัญญาถูกเปิดจนถึงเวลาที่ปิด วันที่ปิดหรือวันหมดอายุของสัญญานี้ไม่ตายตัว ทำให้ CFD แตกต่างจากตราสารอนุพันธ์รูปแบบอื่นอย่างเช่นฟิวเจอร์ส สัญญาของคุณอาจเป็นในระยะสั้นหรือดำเนินต่อไปในระยะยาว

ข้อดีอย่างหนึ่งของการเทรด CFD คือคุณสามารถเก็งกำไรการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางขึ้นหรือลงก็ได้ ผลกำไรหรือขาดทุนของคุณจะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของคุณ ด้วย CFD คุณสามารถเทรดสินทรัพย์ได้หลากหลายแบบ ซึ่งรวมถึงสกุลเงิน, หลักทรัพย์, ดัชนี, คริปโตเคอเรนซี่ (รวมถึง Bitcoin) และสินค้าโภคภัณฑ์

แต่คุณต้องเข้าใจว่า CFD ทำงานอย่างไรก่อนที่จะลองเทรดจริง

วิดีโอ: อธิบายเกี่ยวกับ CFD

How Do CFD Work?

เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทั้งหมด คุณต้องทราบถึงแนวคิดของการเทรดโดยมีหลักประกันก่อน CFD ที่ใช้เลเวอเรจช่วยให้คุณเปิดรับการเคลื่อนไหวของราคาได้กว้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในมูลค่าการเทรดทั้งหมด นี่หมายความว่าเลเวอเรจให้คุณเปิดรับตลาดได้กว้างกว่าที่คุณสามารถทำได้ด้วยเงินทุนในบัญชีเทรดของคุณ

เทรด CFD - หลักประกัน
CFD คืออะไร?

เมื่อคุณเริ่มต้นเทรด CFD คุณจะต้องเปิด "บัญชีหลักประกัน" และควรเปิดกับโบรกเกอร์ที่มีการกำกับดูแล โบรกเกอร์จะอนุญาตให้คุณเทรดได้ด้วยสถานะที่ใหญ่ขึ้นโดยการให้เลเวอเรจ นี่หมายความว่าคุณจะได้รับโอกาสในการขยายผลรายได้ด้วยเงินลงทุนเพียงเล็กน้อยจากทางฝั่งคุณ แต่โปรดจำไว้ว่าเลเวอเรจสามารถขยายผลขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นโปรดเลือกปริมาณเลเวอเรจให้ดี

เพื่อรักษาบัญชีหลักประกันไว้ คุณจะต้องมีเงินทุนขั้นต่ำคงที่อยู่ในบัญชีตลอดเวลาเพื่อทำหน้าที่รองรับผลการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า "หลักประกันเริ่มแรก" หรือ "เงินประกัน" มันคือความแตกต่างระหว่างเงินที่คุณยืมจากโบรกเกอร์กับมูลค่าการเทรดเต็มจำนวนในสถานะของคุณ

ในกรณีที่คุณขาดทุนและเงินทุนในบัญชีลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด โบรกเกอร์จะแจ้ง "การเรียกหลักประกันเพิ่ม" ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องฝากเงินตามจำนวนที่กำหนดในบัญชี หรือที่เรียกว่า "หลักประกันรักษาสภาพ"

สมมติว่าหุ้นของบริษัท XYZ มีการเทรดกันอยู่ที่ $130 ต่อหุ้น คุณตัดสินใจซื้อสัญญา 1,000 หน่วยที่ราคานี้ และถ้าคุณต้องจ่ายมูลค่ารวมของสัญญานี้ตอนนี้ คุณจะต้องจ่าย:

$130 x 10,000 = $130,000.

โดยการใช้เลเวอเรจ คุณจะเปิดรับจำนวนหุ้นได้เท่ากัน แต่ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่า หากหลักประกันที่ต้องการคือ 5% ของมูลค่าการเทรดรวม คุณจะจ่ายแค่เพียง $6.50 ต่อ CFD หนึ่งหน่วยในบัญชีเทรดของคุณในฐานะหลักประกัน

ดังนั้นหลักประกันที่ต้องการรวมจะเท่ากับ
(0.05 x 130,000) = $6,500.

นี่น้อยกว่า $130,000 เป็นอย่างมาก แต่คุณจะเปิดรับการเข้าถึงในระดับเดียวกันราวกับว่าคุณซื้อหุ้นโดยตรง นอกจากนี้คุณยังมีสิทธิ์ได้รับ 100% ของกำไร ในทางกลับกันคุณจะต้องแบกรับ 100% ของการขาดทุนเช่นกัน

เปอร์เซ็นต์หลักประกันนี้จะขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณทำการเทรด หน่วยงานกำกับดูแลที่แตกต่างกันมีการจำกัดการให้เลเวอเรจที่แตกต่างกัน การจำกัดเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องเทรดเดอร์จากการขาดทุนเป็นจำนวนมากในช่วงที่มีความผันผวนสูง

ทำการ "Long" หรือ "Short" ในการเทรด CFD

เมื่อคุณเทรด CFD คุณสามารถเก็งกำไรได้ไม่ว่าราคาในตลาดจะขยับขึ้นหรือลง หากคุณเชื่อว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต คุณจะซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือ "ทำ Long" แต่ถ้าคุณคิดว่าราคาจะลดลงในอนาคต คุณจะขายสินทรัพย์ หรือ "ทำ Short" คุณยังคงได้แลกเปลี่ยนในความแตกต่างระหว่างราคาเปิดและปิดเช่นเดิม แต่คุณมีโอกาสที่จะได้ทำกำไรจากราคาที่ปรับลงเช่นกัน

ตัวอย่างของการเทรด CFD ที่ใช้เลเวอเรจ

สมมติว่าคุณต้องการเทรด CFD โดยที่สินทรัพย์อ้างอิงคือ US30 หรือที่เรียกว่า "ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average Index)" ลองสมมติว่า US30 มีการซื้อขายกันอยู่ที่:

สเปรด Bid/Ask

"Bid" คือราคาขาย นี่คือราคาที่คุณทำการขายสินทรัพย์ ราคาที่สูงกว่าของทั้งสองราคาคือ "Ask" หรือราคาซื้อ ซึ่งเป็นราคาที่คุณซื้อสินทรัพย์ ความแตกต่างระหว่างสองราคานี้คือ "สเปรด" นี่คือค่าใช้จ่ายในการเทรดของคุณ สเปรดอาจจะต่ำหรือสูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของสินทรัพย์และโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์สามารถโควตราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องกลุ่มใหญ่เพื่อมอบสเปรดระหว่าง Bid/Ask ที่ต่ำที่สุดได้

กลับมาที่การเทรด คุณตัดสินใจซื้อ US30 จำนวน 5 สัญญาเพราะคุณคิดว่าราคาของ US30 จะปรับขึ้นในอนาคต อัตราหลักประกันของคุณคือ 1% หมายความว่าคุณต้องฝากเงิน 1% ของมูลค่าสถานะรวมทั้งหมดในบัญชีหลักประกันของคุณ

ในชั่วโมงถัดไป หากราคาขยับไปที่ 22100.00/22112.00 คุณจะมีการเทรดที่ทำกำไร คุณสามารถปิดสถานะได้โดยขายที่ราคา (Bid) ปัจจุบันของ US30 ซึ่งก็คือ 22100.00

ในกรณีนี้ ราคาขยับไปในทิศทางที่คุณต้องการ แต่หากราคาปรับลงแทน โดยเคลื่อนไหวสวนทางกับที่คุณคาดการณ์ไว้ คุณอาจขาดทุน การประเมินความเคลื่อนไหวของราคาอย่างต่อเนื่องและผลลัพธ์การทำกำไร/ขาดทุนนั้นเกิดขึ้นรายวัน ดังนั้นจึงนำไปสู่ผลตอบแทนสุทธิ (บวก/ลบ) จากหลักประกันเริ่มแรกของคุณ ในกรณีที่การขาดทุนทำให้ทุนที่ไม่ได้ใช้งาน (ยอดคงเหลือในบัญชี+กำไร/ขาดทุน) ต่ำกว่าหลักประกันที่ต้องการ (1105) โบรกเกอร์จะแจ้งเรียกหลักประกันเพิ่ม หากคุณไม่ฝากเงินเพิ่ม และตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับคุณมากขึ้น เมื่อทุนที่ไม่ได้ใช้งานของคุณแตะระดับ 50% ของหลักประกันเริ่มแรก สัญญาจะถูกปิดที่ราคาตลาดปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า "Stop Out"

สังเกตเห็นหรือไม่ว่าราคาที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยอาจให้โอกาสในการเทรด ความแตกต่างเล็กน้อยนี้เรียกว่า "pip" หรือ "percentage in point (เปอร์เซ็นต์เป็นจุด)" สำหรับดัชนี 1 pip เท่ากับการเพิ่มราคา 1.0 ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าจุดดัชนี ในตลาดฟอเร็กซ์ อย่างเช่นในตัวอย่างข้างต้น มันถูกใช้เพื่อแสดงการเพิ่มขึ้นของราคาที่น้อยที่สุดในราคาของสกุลเงิน สำหรับสินทรัพย์เช่น AUD/USD ซึ่งมีดอลลาร์สหรัฐรวมอยู่ด้วย pip จะแสดงทศนิยมสูงสุด 4 ตำแหน่ง แต่ในกรณีของคู่ที่มีเยนญี่ปุ่นเช่น AUD/JPY ราคาจะมักจะแสดงทศนิยมสูงสุด 3 ตำแหน่ง

การประเมินความเคลื่อนไหวของราคาอย่างต่อเนื่องและผลลัพธ์การทำกำไร/ขาดทุนนั้นเกิดขึ้นรายวัน ดังนั้นจึงนำไปสู่ผลตอบแทนสุทธิ (บวก/ลบ) จากหลักประกันเริ่มแรกของคุณ ในกรณีที่หลักประกันที่เหลือของคุณติดลบ คุณจะได้รับแจ้งการเรียกหลักประกันเพิ่ม หากคุณไม่ฝากเงินเพิ่ม สัญญาอาจถูกปิดที่ราคาตลาดปัจจุบันหากสถานะยังคงสวนทางกับคุณต่อไป กระบวนการประเมินหลักประกันที่เหลือของคุณนั้นเรียกว่า "Marking to Market"

หากราคา
ของ US30
เป็น คุณอาจทำกำไรหรือขาดทุน
(สำหรับสถานะ Long)
ปรับขึ้น +1% 22300.80/ 22312.80 USD 1044.00
ปรับลง -1% 21859.20/ 21871.20 USD -1164.00

จะทำการป้องกันความเสี่ยง (Hedge) โดยใช้ CFD ได้อย่างไร?

"Bid" คือราคาขาย นี่คือราคาที่คุณทำการขายสินทรัพย์ ราคาที่สูงกว่าของทั้งสองราคาคือ "Ask" หรือราคาซื้อ ซึ่งเป็นราคาที่คุณซื้อสินทรัพย์ ความแตกต่างระหว่างสองราคานี้คือ "สเปรด" นี่คือค่าใช้จ่ายในการเทรดของคุณ สเปรดอาจจะต่ำหรือสูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของสินทรัพย์และโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์สามารถโควตราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องกลุ่มใหญ่เพื่อมอบสเปรดระหว่าง Bid/Ask ที่ต่ำที่สุดได้

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของการเทรด CFD คือโอกาสในการป้องกันพอร์ตการลงทุนของคุณจากความผันผวนของตลาดระยะสั้น ภายในสถานะที่มีอยู่ การป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เป็นกลยุทธ์ที่คุณสามารถใช้เมื่อคุณต้องการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงขาลง คุณสามารถจำกัดผลกำไรของคุณในการทำเช่นนี้

สมมติว่าคุณมีพอร์ตตราสารทุนมูลค่า AUD 150,000 ซึ่งประกอบด้วยหุ้นที่โดดเด่นในดัชนี ASX 200 โดยแบ่งออกเป็น 10 ชุด ชุดละ AUD 15,000 คุณอาจเป็นเจ้าของหุ้น Adelaide Brighton มูลค่า AUD 15,000 และ ANZ Banking Group Ltd. มูลค่า AUD 15,000

หากคุณเชื่อว่าราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทนี้อาจย่อตัวเป็นระยะสั้นๆ เนื่องจากรายงานผลประกอบการที่ไม่ดี คุณสามารถชดเชยการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำ Short ผ่านทาง CFD

แทนที่จะขายหุ้นเหล่านี้ในตลาดเปิด คุณทำ Short ผ่าน CFD สองรายการใน Adelaide Brighton และ ANZ Banking Group Ltd. โดยอาจต้องมีการเปิดรับความเสี่ยงจากตลาดประมาณ 10% ซึ่งเท่ากับ AUD 3,000 สำหรับการป้องกันความเสี่ยงนี้

แต่ทำไมจึงเลือกทำ Short ผ่าน CFD แทนที่จะขายหุ้นและซื้อกลับมาอีกครั้งในภายหลังหลังจากที่ราคาปรับลงไปแล้ว? เหตุผลในการเลือกเส้นทาง CFD อาจเป็น:

  • คุณจะสร้างกำไรเมื่อคุณขายหุ้น ซึ่งต้องเสียภาษี สิ่งนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ เว้นแต่คุณจะต้องการโละสินทรัพย์เหล่านี้ให้หมด ใน CFD คุณไม่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์และค่าใช้จ่ายในการเทรดจะถูก จำกัดตามหลักประกันและสเปรด

  • หากตลาดปรับลง การขาดทุนในพอร์ตหุ้นของคุณจะถูกชดเชยด้วยการทำ Short ในสถานะ CFD

ช่วงถือค้างข้ามคืน

หลังจากที่ตลาดปิดในแต่ละวัน สถานะ CFD ใดๆ ที่เปิดอยู่ในบัญชีคุณอาจมีค่าใช้จ่ายในการถือค้างไว้เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการถือค้างไว้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทิศทางสถานะของคุณ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าค่าใช้จ่ายเป็นลบหรือบวก ค่าถือค้างไว้เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD

คุณจะเริ่มเทรด CFD ได้อย่างไร?

ลองดู
6 ขั้นตอนนี้ในการเริ่มต้นเทรด CFD:

ขั้นตอนที่ 1 |
Build Your Knowledge

หากคุณอ่านถึงตรงนี้ คุณก็มาถึงขั้นที่ 1 แล้ว ความรู้จะเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของคุณ คุณจึงควรเรียนรู้เรื่อง CFD และวิธีเทรดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจคำศัพท์และแนวคิดในการเทรดเบื้องต้น ควบคู่ไปกับวิธีใช้แพลตฟอร์มการเทรดออนไลน์ระดับสูง บล็อก Traders Hub ของ FP Markets เป็นศูนย์รวมทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมซึ่งมีสื่อการศึกษาและการวิจัยที่หลากหลาย

ขั้นตอนที่ 2 |
Open an FP Markets
บัญชีซื้อขาย

ลงทะเบียนและเปิด บัญชีทดลอง หรือ บัญชีจริง with a regulated CFD broker such as FP Markets. Established in 2005, we know that traders are seeking an exceptional trading experience and deliver on their needs by focusing on several key areas. They are:

  • สเปรดต่ำ: ปกติแล้ว สเปรดของคู่สกุลเงินหลักจะเริ่มต้นต่ำเพียง 0.0 pip ด้วยความช่วยเหลือของผู้ดูแลสภาพคล่องชั้นนำ

  • การดำเนินการรวดเร็ว: เซิร์ฟเวอร์การเทรดในศูนย์กลางที่ NY4 ของเราเชื่อมต่อผ่านใยแก้วนำแสงไปยังเครือข่าย ECN ของเรากับผู้ดูแลสภาพคล่อง จึงทำให้มั่นใจในการดำเนินการที่เร็วพิเศษและเวลาแฝงต่ำ

  • เทคโนโลยีระดับสูง: จุดแข็งด้านเทคโนโลยีของเราเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้เรามอบสภาวะที่เหมาะสมให้กับผู้ที่ใช้กลยุทธ์ Automated Trading เข่น Expert Advisors (EAs) และระบบคัดลอกการเทรด

  • ผลิตภัณฑ์: ที่ FP Markets คุณสามารถเทรด CFD ของฟอเร็กซ์ หุ้น โลหะมีค่า ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์และคริปโตเคอเรนซี่ เราให้บริการผลิตภัณฑ์ CFD ที่เทรดได้มากกว่า 10,000 รายการในตลาดเงินทั่วโลกผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เทรดอะไร.

  • ฝ่ายบริการลูกค้า: เราภูมิใจในตนเองที่ได้นำเสนอการสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับรางวัล ทีมสนับสนุนลูกค้าหลากหลายภาษาที่ทุ่มเทของเราพร้อมให้บริการคุณ 24/7 ติดต่อเราโดยใช้วิธีต่างๆ รวมถึง ไลฟ์แชท, โทรศัพท์และอีเมล.

ขั้นตอนที่ 3 |
Create a Trading Strategy

CFD สามารถมอบโอกาสเสี่ยงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ทุกประเภทได้จากแพลตฟอร์มการเทรดเดียว เมื่อสร้างแผนการเทรด มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณา รวมถึง:

  • ประเภทสินทรัพย์ที่คุณต้องการเทรด

  • เงินทุนในการเทรด

  • พันธะเรื่องเวลา

  • ความต้องการเสี่ยง

  • ประสบการณ์ในการเทรด

การมีแผนการเทรดที่เหมาะสมและการปฏิบัติตามแผนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาวินัยและการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ที่ดี FP Markets ให้บริการอีบุ๊กเรื่องการเทรดและสัมมนาทางเว็บที่สามารถช่วยให้คุณพัฒนาแผนการเทรดที่เหมาะกับคุณที่สุด

ขั้นตอนที่ 4 |
Fundamental and Technical
การวิเคราะห์

เมื่อดำเนินการวิเคราะห์ตลาด เทรดเดอร์จะสามารถค้นหาตลาดที่ผันผวนและโอกาสในการเทรดที่อาจเกิดขึ้น มีแนวทางในการวิเคราะห์ตลาดสองแนวทาง ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แล การวิเคราะห์ทางเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมือง การประกาศข้อมูลเศรษฐกิจ และเหตุการณ์ที่เป็นข่าวด่วนซึ่งอาจกระทบต่อตลาดเงินโลก

ในทางตรงกันข้าม การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลตลาดเพื่อค้นหาแนวโน้มและดำเนินการตัดสินใจเทรด การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในการเทรดได้อย่างมีข้อมูลรอบด้านเกี่ยวกับแนวโน้มราคาและรูปแบบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แพลตฟอร์มการเทรด เช่น MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 จะมีเครื่องมือกราฟและเครื่องมือวิเคราะห์ที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าซึ่งสามารถช่วยให้คุณดำเนินการวิเคราะห์ตลาดได้อย่างครอบคลุม

ขั้นตอนที่ 5 |
Choose Your Trading Platform

ตัวเลือกเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์สำคัญจากการเทรดกับ FP Markets แพลตฟอร์มการเทรดที่หลากหลายของเรารวมถึง MetaTrader 4, MetaTrader 5, Iress และ แอพสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ FP Markets คุณจึงสามารถเลือกแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและเสถียรในการเทรดได้ แพลตฟอร์มการเทรดทั้งหมดของเรามีเครื่องมือต่างๆ มากมายที่สามารถใช้เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ตลาดและดำเนินการเทรดได้อย่างราบรื่น

ขั้นตอนที่ 6 | การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญในทุกการเทรด ไม่ว่าสภาวะตลาดหรือขนาดสถานะจะเป็นอย่างไร ในการจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น นี่คือเครื่องมือที่คุณสามารถเลือกใช้ได้:

คำสั่ง Stop Loss: การวางคำสั่ง Stop Loss อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ระบบสามารถปิดสถานะของคุณโดยอัตโนมัติเมื่อตลาดแตะระดับราคาที่กำหนด คำสั่งนี้จะช่วยลดการขาดทุนเมื่อตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่เอื้ออำนวย

Take Profit: คำสั่งนี้จะปิดสถานะของคุณเมื่อคุณได้รับกำไรในระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยป้องกันสถานะของคุณจากความเสี่ยงในตลาดที่ไม่จำเป็น

Trailing Stops: คำสั่งนี้จะขยับคำสั่ง Stop Loss ให้ไกลขึ้นหากตลาดเคลื่อนไปในทิศทางที่คุณต้องการ แต่จะปิดสถานะทันทีที่ตลาดเลี้ยวกลับ คำสั่งนี้ป้องกันไม่ให้สถานะของคุณปิดเร็วเกินไป

สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิคเพิ่มเติมแบบเจาะลึกรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเทรด โปรดเยี่ยมชมบล็อก Traders Hub ของเรา.

ข้อดีของการเทรด CFD

ตลาดเงินที่หลากหลาย: การเทรด CFD กับ FP Markets ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงตลาดเงินที่ใหญ่ที่สุดได้จากทั่วโลก การให้บริการ CFD ของเรามีตราสารที่เทรดได้มากกว่า 10,000 รายการในฟอเร็กซ์ หุ้น ดัชนี โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และคริปโตเคอเรนซี่ โดยรวมถึงคู่สกุลเงิน เช่น USD/AUD และหุ้นบริษัทบางแห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น Apple และ Amazon

เทรดในตลาดขาลง: ฟีเจอร์สพิเศษอย่างหนึ่งในการเทรด CFD ก็คือคุณจะสามารถเปิด 'Long' หรือ 'Short' ก็ได้ การเทรดในตลาดเงินตามปกติจะสามารถใช้ 'สถานะ Long' ได้เท่านั้นและจะได้ประโยชน์จากราคาที่ปรับตัวขึ้น ในทางตรงข้าม คุณจะสามารถเปิด 'สถานะ Short' และได้ประโยชน์จากความเคลื่อนไหวของราคาที่ปรับตัวลง ซึ่งทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการเทรดเพิ่มเติม

ไม่มีภาระทางภาษี: เนื่องจากคุณไม่ได้ครอบครองสินทรัพย์อ้างอิงตามจริง จึงไม่มีภาระทางภาษีในการเทรด CFD นอกจากนี้ การใช้เลเวอเรจยังทำให้เทรดเดอร์สามารถใช้เงินทุนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยได้โอกาสที่มากกว่าจากการใช้การเทรดด้วยมาร์จิ้น

เลเวอเรจ: มอบวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลงทุนเนื่องจากคุณต้องฝากเงินเพียงเล็กน้อย (มาร์จิ้น) เท่านั้นจากมูลค่าการเทรดทั้งหมดเพื่อเปิดสถานะ ซึ่งมาร์จิ้นที่กำหนดจะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับตราสาร สภาพคล่องและปัจจัยอื่นๆ

เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ: ประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเทรด CFD ก็คือสามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงได้ โดยสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงสำหรับสถานะที่มีในพอร์ตของคุณจากความผันผวนระยะสั้นในตลาด การป้องกันความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ CFD จะใช้มากกว่าจะขายตราสารอื่นๆ ที่ถืออยู่ซึ่งอาจมีผลกระทบทางภาษี

เลียนแบบการเทรดในตลาดอ้างอิง: CFD ออกแบบขึ้นเพื่อเลียนแบบสภาพแวดล้อมในการเทรดโดยรวมถึงราคาของตลาดอ้างอิง การซื้อ CFD หุ้น Amazon หนึ่งรายการจะเท่ากับการซื้อหุ้น Amazon หนึ่งหุ้นที่เทรดใน NASDAQ

ไม่มีวันหมดอายุตายตัว: CFD ไม่มีวันหมดอายุ จึงต่างจากตราสารอนุพันธ์อื่นๆ เช่น ออปชันและฟิวเจอร์ส คุณจึงสามารถถือ CFD ในระยะยาวหรือสั้นตามที่คุณต้องการ

เทรด CFD - คำถามที่พบบ่อย

มีตัวเลขสามตัวที่จะต้องพิจารณาในการเทรด CFD ได้แก่ 'ราคาเสนอซื้อ', 'ราคาเสนอขาย' และ 'สเปรด' 'ราคาเสนอซื้อ' (ขาย) เป็นราคาขายที่ปกติจะแสดงทางด้านซ้าย ขณะที่ราคา 'ราคาเสนอขาย' (ซื้อ) เป็นราคาที่สูงกว่าและเป็นเรตที่คุณจะซื้อสินทรัพย์ ส่วนต่างระหว่างราคาทั้งสองราคานี้จะเรียกว่า 'สเปรด' และเป็นค่าใช้จ่ายในการเทรด สเปรดอาจจะต่ำหรือสูงโดยขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของสินทรัพย์คุณ

เริ่มต้นเทรด
ได้ในไม่กี่นาที

bullet เข้าถึงตราสารทางการเงินกว่า 10,000 รายการ
bullet เปิดและปิดสถานะอัตโนมัติ
bullet ข่าวสารและปฏิทินเศรษฐกิจ
bullet เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและกราฟ
bullet มีเครื่องมือเพิ่มเติมอีกมากมาย

การให้อีเมลของคุณ แสดงถึงว่าคุณยอ มรับในนโยบายความเป็ นส่วนตัวของ FP Markets และจะรับสื่อการตลาดในอนาคตจาก FP Markets คุณสามารถยกเลิกการสมัครรับได้ทุกเมื่อ




Source - database | Page ID - 2516

Get instant Updates in Telegram