การเทรด CFD คืออะไร

MENU

การเทรด CFD คืออะไร
และมีขั้นตอนอย่างไร?

CFD หรือ “สัญญาซื้อขายส่วนต่าง” เป็นผลิตภัณฑ์อนุพันธ์ที่ให้คุณซื้อขายตามการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์และดัชนีในตลาดในประเทศและต่างประเทศ แม้จะมีความซับซ้อน แต่สิ่งที่ถูกนำเสนอให้นักเทรดนั้นค่อนข้างง่าย CFD ช่วยให้คุณสามารถเข้าสู่ตลาดด้วยมูลค่าเพียงเศษเสี้ยวของสินทรัพย์ที่คุณกำลังซื้อ เพิ่มศักยภาพในการทำกำไรและขาดทุน หรือที่เรียกว่าเลเวอเรจ เนื่องจาก CFD มุ่งเน้นไปที่การเคลื่อนไหวของราคา จึงเป็นไปได้ที่จะทำการชอร์ตผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายความว่าผู้ค้าคาดว่าราคาของสินทรัพย์จะลดลงและได้กำไรจากการเคลื่อนไหวนี้ สุดท้ายนี้มันช่วยให้ผู้ค้าสามารถเปิดโพซิชั่นได้โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ สิ่งนี้ทำให้ CFDs เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ค้าที่ต้องการรับความเสี่ยงจากตลาดที่ใหญ่ขึ้นด้วยมูลค่าเพียงเศษเสี้ยวของมูลค่าเต็มของสินทรัพย์ ในขณะที่สามารถเข้าและออกจากการซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว

ด้วย CFD คุณไม่ต้องเป็นเจ้าของในสินทรัพย์จริง คุณแลกเปลี่ยนในส่วนต่างราคาของสินทรัพย์ที่อ้างอิง นับจากเวลาที่สัญญาถูกเปิดจนถึงเวลาที่ปิด วันที่ปิดหรือวันหมดอายุของสัญญานี้ไม่ตายตัว ทำให้ CFD แตกต่างจากตราสารอนุพันธ์รูปแบบอื่นอย่างเช่นฟิวเจอร์ส สัญญาของคุณอาจเป็นในระยะสั้นหรือดำเนินต่อไปในระยะยาว

ข้อดีอย่างหนึ่งของการเทรด CFD คือคุณสามารถเก็งกำไรการเคลื่อนไหวของราคาในทิศทางขึ้นหรือลงก็ได้ ผลกำไรหรือขาดทุนของคุณจะขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ของคุณ ด้วย CFD คุณสามารถเทรดสินทรัพย์ได้หลากหลายแบบ ซึ่งรวมถึงสกุลเงิน, หลักทรัพย์, ดัชนี, คริปโตเคอเรนซี่ (รวมถึง Bitcoin) และสินค้าโภคภัณฑ์

แต่คุณต้องเข้าใจว่า CFD ทำงานอย่างไรก่อนที่จะลองเทรดจริง

วิดีโอ: อธิบายเกี่ยวกับ CFD

How Do CFDs Work?

เพื่อให้เข้าใจกระบวนการทั้งหมด คุณต้องทราบถึงแนวคิดของการเทรดโดยมีหลักประกันก่อน CFD ที่ใช้เลเวอเรจช่วยให้คุณเปิดรับการเคลื่อนไหวของราคาได้กว้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนในมูลค่าการเทรดทั้งหมด นี่หมายความว่าเลเวอเรจให้คุณเปิดรับตลาดได้กว้างกว่าที่คุณสามารถทำได้ด้วยเงินทุนในบัญชีเทรดของคุณ

เทรด CFD - หลักประกัน
CFD คืออะไร?

เมื่อคุณเริ่มต้นเทรด CFD คุณจะต้องเปิด "บัญชีหลักประกัน" และควรเปิดกับโบรกเกอร์ที่มีการกำกับดูแล โบรกเกอร์จะอนุญาตให้คุณเทรดได้ด้วยสถานะที่ใหญ่ขึ้นโดยการให้เลเวอเรจ นี่หมายความว่าคุณจะได้รับโอกาสในการขยายผลรายได้ด้วยเงินลงทุนเพียงเล็กน้อยจากทางฝั่งคุณ แต่โปรดจำไว้ว่าเลเวอเรจสามารถขยายผลขาดทุนได้เช่นกัน ดังนั้นโปรดเลือกปริมาณเลเวอเรจให้ดี

เพื่อรักษาบัญชีหลักประกันไว้ คุณจะต้องมีเงินทุนขั้นต่ำคงที่อยู่ในบัญชีตลอดเวลาเพื่อทำหน้าที่รองรับผลการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า "หลักประกันเริ่มแรก" หรือ "เงินประกัน" มันคือความแตกต่างระหว่างเงินที่คุณยืมจากโบรกเกอร์กับมูลค่าการเทรดเต็มจำนวนในสถานะของคุณ

ในกรณีที่คุณขาดทุนและเงินทุนในบัญชีลดลงต่ำกว่าระดับที่กำหนด โบรกเกอร์จะแจ้ง "การเรียกหลักประกันเพิ่ม" ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องฝากเงินตามจำนวนที่กำหนดในบัญชี หรือที่เรียกว่า "หลักประกันรักษาสภาพ"

สมมติว่าหุ้นของบริษัท XYZ มีการเทรดกันอยู่ที่ $130 ต่อหุ้น คุณตัดสินใจซื้อสัญญา 1,000 หน่วยที่ราคานี้ และถ้าคุณต้องจ่ายมูลค่ารวมของสัญญานี้ตอนนี้ คุณจะต้องจ่าย:

$130 x 10,000 = $130,000.

โดยการใช้เลเวอเรจ คุณจะเปิดรับจำนวนหุ้นได้เท่ากัน แต่ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่า หากหลักประกันที่ต้องการคือ 5% ของมูลค่าการเทรดรวม คุณจะจ่ายแค่เพียง $6.50 ต่อ CFD หนึ่งหน่วยในบัญชีเทรดของคุณในฐานะหลักประกัน

ดังนั้นหลักประกันที่ต้องการรวมจะเท่ากับ
(0.05 x 130,000) = $6,500.

นี่น้อยกว่า $130,000 เป็นอย่างมาก แต่คุณจะเปิดรับการเข้าถึงในระดับเดียวกันราวกับว่าคุณซื้อหุ้นโดยตรง นอกจากนี้คุณยังมีสิทธิ์ได้รับ 100% ของกำไร ในทางกลับกันคุณจะต้องแบกรับ 100% ของการขาดทุนเช่นกัน

เปอร์เซ็นต์หลักประกันนี้จะขึ้นอยู่กับประเทศที่คุณทำการเทรด หน่วยงานกำกับดูแลที่แตกต่างกันมีการจำกัดการให้เลเวอเรจที่แตกต่างกัน การจำกัดเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องเทรดเดอร์จากการขาดทุนเป็นจำนวนมากในช่วงที่มีความผันผวนสูง

ทำการ "Long" หรือ "Short" ในการเทรด CFD

เมื่อคุณเทรด CFD คุณสามารถเก็งกำไรได้ไม่ว่าราคาในตลาดจะขยับขึ้นหรือลง หากคุณเชื่อว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในอนาคต คุณจะซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือ "ทำ Long" แต่ถ้าคุณคิดว่าราคาจะลดลงในอนาคต คุณจะขายสินทรัพย์ หรือ "ทำ Short" คุณยังคงได้แลกเปลี่ยนในความแตกต่างระหว่างราคาเปิดและปิดเช่นเดิม แต่คุณมีโอกาสที่จะได้ทำกำไรจากราคาที่ปรับลงเช่นกัน

ตัวอย่างของการเทรด CFD ที่ใช้เลเวอเรจ

สมมติว่าคุณต้องการเทรด CFD โดยที่สินทรัพย์อ้างอิงคือ US30 หรือที่เรียกว่า "ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average Index)" ลองสมมติว่า US30 มีการซื้อขายกันอยู่ที่:

สเปรด Bid/Ask

"Bid" คือราคาขาย นี่คือราคาที่คุณทำการขายสินทรัพย์ ราคาที่สูงกว่าของทั้งสองราคาคือ "Ask" หรือราคาซื้อ ซึ่งเป็นราคาที่คุณซื้อสินทรัพย์ ความแตกต่างระหว่างสองราคานี้คือ "สเปรด" นี่คือค่าใช้จ่ายในการเทรดของคุณ สเปรดอาจจะต่ำหรือสูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของสินทรัพย์และโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์สามารถโควตราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องกลุ่มใหญ่เพื่อมอบสเปรดระหว่าง Bid/Ask ที่ต่ำที่สุดได้

กลับมาที่การเทรด คุณตัดสินใจซื้อ US30 จำนวน 5 สัญญาเพราะคุณคิดว่าราคาของ US30 จะปรับขึ้นในอนาคต อัตราหลักประกันของคุณคือ 1% หมายความว่าคุณต้องฝากเงิน 1% ของมูลค่าสถานะรวมทั้งหมดในบัญชีหลักประกันของคุณ

ในชั่วโมงถัดไป หากราคาขยับไปที่ 22100.00/22112.00 คุณจะมีการเทรดที่ทำกำไร คุณสามารถปิดสถานะได้โดยขายที่ราคา (Bid) ปัจจุบันของ US30 ซึ่งก็คือ 22100.00

ในกรณีนี้ ราคาขยับไปในทิศทางที่คุณต้องการ แต่หากราคาปรับลงแทน โดยเคลื่อนไหวสวนทางกับที่คุณคาดการณ์ไว้ คุณอาจขาดทุน การประเมินความเคลื่อนไหวของราคาอย่างต่อเนื่องและผลลัพธ์การทำกำไร/ขาดทุนนั้นเกิดขึ้นรายวัน ดังนั้นจึงนำไปสู่ผลตอบแทนสุทธิ (บวก/ลบ) จากหลักประกันเริ่มแรกของคุณ ในกรณีที่การขาดทุนทำให้ทุนที่ไม่ได้ใช้งาน (ยอดคงเหลือในบัญชี+กำไร/ขาดทุน) ต่ำกว่าหลักประกันที่ต้องการ (1105) โบรกเกอร์จะแจ้งเรียกหลักประกันเพิ่ม หากคุณไม่ฝากเงินเพิ่ม และตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับคุณมากขึ้น เมื่อทุนที่ไม่ได้ใช้งานของคุณแตะระดับ 50% ของหลักประกันเริ่มแรก สัญญาจะถูกปิดที่ราคาตลาดปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า "Stop Out"

สังเกตเห็นหรือไม่ว่าราคาที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยอาจให้โอกาสในการเทรด ความแตกต่างเล็กน้อยนี้เรียกว่า "pip" หรือ "percentage in point (เปอร์เซ็นต์เป็นจุด)" สำหรับดัชนี 1 pip เท่ากับการเพิ่มราคา 1.0 ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าจุดดัชนี ในตลาดฟอเร็กซ์ อย่างเช่นในตัวอย่างข้างต้น มันถูกใช้เพื่อแสดงการเพิ่มขึ้นของราคาที่น้อยที่สุดในราคาของสกุลเงิน สำหรับสินทรัพย์เช่น AUD/USD ซึ่งมีดอลลาร์สหรัฐรวมอยู่ด้วย pip จะแสดงทศนิยมสูงสุด 4 ตำแหน่ง แต่ในกรณีของคู่ที่มีเยนญี่ปุ่นเช่น AUD/JPY ราคาจะมักจะแสดงทศนิยมสูงสุด 3 ตำแหน่ง

การประเมินความเคลื่อนไหวของราคาอย่างต่อเนื่องและผลลัพธ์การทำกำไร/ขาดทุนนั้นเกิดขึ้นรายวัน ดังนั้นจึงนำไปสู่ผลตอบแทนสุทธิ (บวก/ลบ) จากหลักประกันเริ่มแรกของคุณ ในกรณีที่หลักประกันที่เหลือของคุณติดลบ คุณจะได้รับแจ้งการเรียกหลักประกันเพิ่ม หากคุณไม่ฝากเงินเพิ่ม สัญญาอาจถูกปิดที่ราคาตลาดปัจจุบันหากสถานะยังคงสวนทางกับคุณต่อไป กระบวนการประเมินหลักประกันที่เหลือของคุณนั้นเรียกว่า "Marking to Market"

หากราคา
ของ US30
เป็น คุณอาจทำกำไรหรือขาดทุน
(สำหรับสถานะ Long)
ปรับขึ้น +1% 22300.80/ 22312.80 USD 1044.00
ปรับลง -1% 21859.20/ 21871.20 USD -1164.00

จะทำการป้องกันความเสี่ยง (Hedge) โดยใช้ CFD ได้อย่างไร?

"Bid" คือราคาขาย นี่คือราคาที่คุณทำการขายสินทรัพย์ ราคาที่สูงกว่าของทั้งสองราคาคือ "Ask" หรือราคาซื้อ ซึ่งเป็นราคาที่คุณซื้อสินทรัพย์ ความแตกต่างระหว่างสองราคานี้คือ "สเปรด" นี่คือค่าใช้จ่ายในการเทรดของคุณ สเปรดอาจจะต่ำหรือสูงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของสินทรัพย์และโบรกเกอร์ที่คุณเลือกใช้ ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์สามารถโควตราคาจากผู้ให้บริการสภาพคล่องกลุ่มใหญ่เพื่อมอบสเปรดระหว่าง Bid/Ask ที่ต่ำที่สุดได้

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของการเทรด CFD คือโอกาสในการป้องกันพอร์ตการลงทุนของคุณจากความผันผวนของตลาดระยะสั้น ภายในสถานะที่มีอยู่ การป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เป็นกลยุทธ์ที่คุณสามารถใช้เมื่อคุณต้องการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยงขาลง คุณสามารถจำกัดผลกำไรของคุณในการทำเช่นนี้

สมมติว่าคุณมีพอร์ตตราสารทุนมูลค่า AUD 150,000 ซึ่งประกอบด้วยหุ้นที่โดดเด่นในดัชนี ASX 200 โดยแบ่งออกเป็น 10 ชุด ชุดละ AUD 15,000 คุณอาจเป็นเจ้าของหุ้น Adelaide Brighton มูลค่า AUD 15,000 และ ANZ Banking Group Ltd. มูลค่า AUD 15,000

หากคุณเชื่อว่าราคาหุ้นของทั้งสองบริษัทนี้อาจย่อตัวเป็นระยะสั้นๆ เนื่องจากรายงานผลประกอบการที่ไม่ดี คุณสามารถชดเชยการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำ Short ผ่านทาง CFD

แทนที่จะขายหุ้นเหล่านี้ในตลาดเปิด คุณทำ Short ผ่าน CFD สองรายการใน Adelaide Brighton และ ANZ Banking Group Ltd. โดยอาจต้องมีการเปิดรับความเสี่ยงจากตลาดประมาณ 10% ซึ่งเท่ากับ AUD 3,000 สำหรับการป้องกันความเสี่ยงนี้

แต่ทำไมจึงเลือกทำ Short ผ่าน CFD แทนที่จะขายหุ้นและซื้อกลับมาอีกครั้งในภายหลังหลังจากที่ราคาปรับลงไปแล้ว? เหตุผลในการเลือกเส้นทาง CFD อาจเป็น:

  • คุณจะสร้างกำไรเมื่อคุณขายหุ้น ซึ่งต้องเสียภาษี สิ่งนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ เว้นแต่คุณจะต้องการโละสินทรัพย์เหล่านี้ให้หมด ใน CFD คุณไม่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์และค่าใช้จ่ายในการเทรดจะถูก จำกัดตามหลักประกันและสเปรด

  • หากตลาดปรับลง การขาดทุนในพอร์ตหุ้นของคุณจะถูกชดเชยด้วยการทำ Short ในสถานะ CFD

ช่วงถือค้างข้ามคืน

หลังจากที่ตลาดปิดในแต่ละวัน สถานะ CFD ใดๆ ที่เปิดอยู่ในบัญชีคุณอาจมีค่าใช้จ่ายในการถือค้างไว้เกิดขึ้น ค่าใช้จ่ายนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการถือค้างไว้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทิศทางสถานะของคุณ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าค่าใช้จ่ายเป็นลบหรือบวก ค่าถือค้างไว้เป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายในการเทรด CFD

คุณจะเริ่มเทรด CFD ได้อย่างไร?

ลองดู
6 ขั้นตอนนี้ในการเริ่มต้นเทรด CFD:

ขั้นตอนที่ 1 |
Build Your Knowledge

หากคุณอ่านถึงตรงนี้ คุณก็มาถึงขั้นที่ 1 แล้ว ความรู้จะเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของคุณ คุณจึงควรเรียนรู้เรื่อง CFD และวิธีเทรดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจคำศัพท์และแนวคิดในการเทรดเบื้องต้น ควบคู่ไปกับวิธีใช้แพลตฟอร์มการเทรดออนไลน์ระดับสูง บล็อก Traders Hub ของ FP Markets เป็นศูนย์รวมทรัพยากรที่ยอดเยี่ยมซึ่งมีสื่อการศึกษาและการวิจัยที่หลากหลาย

ขั้นตอนที่ 2 |
Open an FP Markets
บัญชีซื้อขาย

ลงทะเบียนแล้วเปิด  บัญชีทดลอง หรือ  บัญชีจริง กับโบรกเกอร์ CFD ที่มีการกำกับดูแล เช่น FP Markets เราก่อตั้งขึ้นในปี 2005 และรู้ว่าเทรดเดอร์กำลังมองหาประสบการณ์เทรดเหนือระดับ จึงช่วยตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาโดยมุ่งเน้นในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้แก่::

  • สเปรดต่ำ: ปกติแล้ว สเปรดของคู่สกุลเงินหลักจะเริ่มต้นต่ำเพียง 0.0 pip ด้วยความช่วยเหลือของผู้ดูแลสภาพคล่องชั้นนำ

  • การดำเนินการรวดเร็ว: เซิร์ฟเวอร์การเทรดในศูนย์กลางที่ NY4 ของเราเชื่อมต่อผ่านใยแก้วนำแสงไปยังเครือข่าย ECN ของเรากับผู้ดูแลสภาพคล่อง จึงทำให้มั่นใจในการดำเนินการที่เร็วพิเศษและเวลาแฝงต่ำ

  • เทคโนโลยีระดับสูง: จุดแข็งด้านเทคโนโลยีของเราเป็นเหตุผลข้อหนึ่งที่ทำให้เรามอบสภาวะที่เหมาะสมให้กับผู้ที่ใช้กลยุทธ์ Automated Trading เข่น Expert Advisors (EAs) และระบบคัดลอกการเทรด

  • ผลิตภัณฑ์: ที่ FP Markets คุณสามารถเทรด CFD ของฟอเร็กซ์ หุ้น โลหะมีค่า ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์และคริปโตเคอเรนซี่ เราให้บริการผลิตภัณฑ์ CFD ที่เทรดได้มากกว่า 10,000 รายการในตลาดเงินทั่วโลกผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ เทรดอะไร.

  • ฝ่ายบริการลูกค้า: เราภูมิใจในตนเองที่ได้นำเสนอการสนับสนุนลูกค้าที่ได้รับรางวัล ทีมสนับสนุนลูกค้าหลากหลายภาษาที่ทุ่มเทของเราพร้อมให้บริการคุณ 24/7 ติดต่อเราโดยใช้วิธีต่างๆ รวมถึง ไลฟ์แชท, โทรศัพท์และอีเมล.

ขั้นตอนที่ 3 |
Create a Trading Strategy

CFD สามารถมอบโอกาสเสี่ยงในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ทุกประเภทได้จากแพลตฟอร์มการเทรดเดียว เมื่อสร้างแผนการเทรด มีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณา รวมถึง:

  • ประเภทสินทรัพย์ที่คุณต้องการเทรด

  • เงินทุนในการเทรด

  • พันธะเรื่องเวลา

  • ความต้องการเสี่ยง

  • ประสบการณ์ในการเทรด

การมีแผนการเทรดที่เหมาะสมและการปฏิบัติตามแผนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาวินัยและการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ที่ดี FP Markets ให้บริการอีบุ๊กเรื่องการเทรดและสัมมนาทางเว็บที่สามารถช่วยให้คุณพัฒนาแผนการเทรดที่เหมาะกับคุณที่สุด

ขั้นตอนที่ 4 |
Fundamental and Technical
การวิเคราะห์

เมื่อดำเนินการวิเคราะห์ตลาด เทรดเดอร์จะสามารถค้นหาตลาดที่ผันผวนและโอกาสในการเทรดที่อาจเกิดขึ้น มีแนวทางในการวิเคราะห์ตลาดสองแนวทาง ได้แก่ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แล การวิเคราะห์ทางเทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เหตุการณ์ทางภูมิศาสตร์การเมือง การประกาศข้อมูลเศรษฐกิจ และเหตุการณ์ที่เป็นข่าวด่วนซึ่งอาจกระทบต่อตลาดเงินโลก

ในทางตรงกันข้าม การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลตลาดเพื่อค้นหาแนวโน้มและดำเนินการตัดสินใจเทรด การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจในการเทรดได้อย่างมีข้อมูลรอบด้านเกี่ยวกับแนวโน้มราคาและรูปแบบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต แพลตฟอร์มการเทรด เช่น MetaTrader 4 และ MetaTrader 5 จะมีเครื่องมือกราฟและเครื่องมือวิเคราะห์ที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าซึ่งสามารถช่วยให้คุณดำเนินการวิเคราะห์ตลาดได้อย่างครอบคลุม

ขั้นตอนที่ 5 |
Choose Your Trading Platform

ตัวเลือกเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์สำคัญจากการเทรดกับ FP Markets แพลตฟอร์มการเทรดที่หลากหลายของเรารวมถึง MetaTrader 4, MetaTrader 5, Iress และ แอพสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ FP Markets คุณจึงสามารถเลือกแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นและเสถียรในการเทรดได้ แพลตฟอร์มการเทรดทั้งหมดของเรามีเครื่องมือต่างๆ มากมายที่สามารถใช้เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ตลาดและดำเนินการเทรดได้อย่างราบรื่น

ขั้นตอนที่ 6 | การบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงเป็นสิ่งสำคัญในทุกการเทรด ไม่ว่าสภาวะตลาดหรือขนาดสถานะจะเป็นอย่างไร ในการจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น นี่คือเครื่องมือที่คุณสามารถเลือกใช้ได้:

คำสั่ง Stop Loss: การวางคำสั่ง Stop Loss อย่างเหมาะสมจะช่วยให้ระบบสามารถปิดสถานะของคุณโดยอัตโนมัติเมื่อตลาดแตะระดับราคาที่กำหนด คำสั่งนี้จะช่วยลดการขาดทุนเมื่อตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ไม่เอื้ออำนวย

Take Profit: คำสั่งนี้จะปิดสถานะของคุณเมื่อคุณได้รับกำไรในระดับหนึ่ง ซึ่งจะช่วยป้องกันสถานะของคุณจากความเสี่ยงในตลาดที่ไม่จำเป็น

Trailing Stops: คำสั่งนี้จะขยับคำสั่ง Stop Loss ให้ไกลขึ้นหากตลาดเคลื่อนไปในทิศทางที่คุณต้องการ แต่จะปิดสถานะทันทีที่ตลาดเลี้ยวกลับ คำสั่งนี้ป้องกันไม่ให้สถานะของคุณปิดเร็วเกินไป

สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิคเพิ่มเติมแบบเจาะลึกรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการเทรด โปรดเยี่ยมชมบล็อก Traders Hub ของเรา.

ข้อดีของการเทรด CFD

ตลาดเงินที่หลากหลาย: การเทรด CFD กับ FP Markets ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงตลาดเงินที่ใหญ่ที่สุดได้จากทั่วโลก การให้บริการ CFD ของเรามีตราสารที่เทรดได้มากกว่า 10,000 รายการในฟอเร็กซ์ หุ้น ดัชนี โลหะมีค่า สินค้าโภคภัณฑ์ และคริปโตเคอเรนซี่ โดยรวมถึงคู่สกุลเงิน เช่น USD/AUD และหุ้นบริษัทบางแห่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น Apple และ Amazon

เทรดในตลาดขาลง: ฟีเจอร์สพิเศษอย่างหนึ่งในการเทรด CFD ก็คือคุณจะสามารถเปิด 'Long' หรือ 'Short' ก็ได้ การเทรดในตลาดเงินตามปกติจะสามารถใช้ 'สถานะ Long' ได้เท่านั้นและจะได้ประโยชน์จากราคาที่ปรับตัวขึ้น ในทางตรงข้าม คุณจะสามารถเปิด 'สถานะ Short' และได้ประโยชน์จากความเคลื่อนไหวของราคาที่ปรับตัวลง ซึ่งทำให้เทรดเดอร์มีโอกาสในการเทรดเพิ่มเติม

ไม่มีภาระทางภาษี: เนื่องจากคุณไม่ได้ครอบครองสินทรัพย์อ้างอิงตามจริง จึงไม่มีภาระทางภาษีในการเทรด CFD นอกจากนี้ การใช้เลเวอเรจยังทำให้เทรดเดอร์สามารถใช้เงินทุนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยได้โอกาสที่มากกว่าจากการใช้การเทรดด้วยมาร์จิ้น

เลเวอเรจ: มอบวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลงทุนเนื่องจากคุณต้องฝากเงินเพียงเล็กน้อย (มาร์จิ้น) เท่านั้นจากมูลค่าการเทรดทั้งหมดเพื่อเปิดสถานะ ซึ่งมาร์จิ้นที่กำหนดจะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับตราสาร สภาพคล่องและปัจจัยอื่นๆ

เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ: ประโยชน์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเทรด CFD ก็คือสามารถใช้เป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงได้ โดยสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงสำหรับสถานะที่มีในพอร์ตของคุณจากความผันผวนระยะสั้นในตลาด การป้องกันความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์ CFD จะใช้มากกว่าจะขายตราสารอื่นๆ ที่ถืออยู่ซึ่งอาจมีผลกระทบทางภาษี

เลียนแบบการเทรดในตลาดอ้างอิง: CFD ออกแบบขึ้นเพื่อเลียนแบบสภาพแวดล้อมในการเทรดโดยรวมถึงราคาของตลาดอ้างอิง การซื้อ CFD หุ้น Amazon หนึ่งรายการจะเท่ากับการซื้อหุ้น Amazon หนึ่งหุ้นที่เทรดใน NASDAQ

ไม่มีวันหมดอายุตายตัว: CFD ไม่มีวันหมดอายุ จึงต่างจากตราสารอนุพันธ์อื่นๆ เช่น ออปชันและฟิวเจอร์ส คุณจึงสามารถถือ CFD ในระยะยาวหรือสั้นตามที่คุณต้องการ

เทรด CFD - คำถามที่พบบ่อย

มีตัวเลขสามตัวที่จะต้องพิจารณาในการเทรด CFD ได้แก่ 'ราคาเสนอซื้อ', 'ราคาเสนอขาย' และ 'สเปรด' 'ราคาเสนอซื้อ' (ขาย) เป็นราคาขายที่ปกติจะแสดงทางด้านซ้าย ขณะที่ราคา 'ราคาเสนอขาย' (ซื้อ) เป็นราคาที่สูงกว่าและเป็นเรตที่คุณจะซื้อสินทรัพย์ ส่วนต่างระหว่างราคาทั้งสองราคานี้จะเรียกว่า 'สเปรด' และเป็นค่าใช้จ่ายในการเทรด สเปรดอาจจะต่ำหรือสูงโดยขึ้นอยู่กับสภาพคล่องของสินทรัพย์คุณ

เริ่มต้นเทรด
ได้ในไม่กี่นาที

bullet เข้าถึงตราสารทางการเงินกว่า 10,000 รายการ
bullet เปิดและปิดสถานะอัตโนมัติ
bullet ข่าวสารและปฏิทินเศรษฐกิจ
bullet เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและกราฟ
bullet มีเครื่องมือเพิ่มเติมอีกมากมาย

การให้อีเมลของคุณ แสดงถึงว่าคุณยอ มรับในนโยบายความเป็ นส่วนตัวของ FP Markets และจะรับสื่อการตลาดในอนาคตจาก FP Markets คุณสามารถยกเลิกการสมัครรับได้ทุกเมื่อ




Source - cache | Page ID - 2516

Get instant Updates in Telegram